

Concerto for Double Bass Op.3
Serge Koussevitzky
คีตกวีชาวรัสเซีย ที่เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะวาทยกร และ
นักดับเบิ้ลเบสที่มีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา และในยุโรป
หลักฐานการประพันธ์เพลงนี้ไม่ได้ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน แต่ได้มีการถกเถียงเกี่ยวกับฝีมือการประพันธ์เพลงและเรียบเรียงผลงานเพลงที่เก่งหาที่เปรียบของเขาว่างานต่างๆที่เขาได้ทำขึ้นมาเกิดจากฝีมือของเขาคนเดียวจริงๆหรือไม่
เรื่องนี้ทำให้ภรรยาม่ายของเขา Olga Koussevitzky ออกมายืนกรานว่าสามีของหล่อนแต่งเพลงทุกเพลงเองโดยไม่มีใครยื่นมือมาช่วยจริงๆ
Philip Hale (American Impressionist Artist) ได้กล่าวไว้ว่าผลงาน Concerto ของ Koussevitzky ไม่ได้เป็นการเขียนที่ไร้สาระเลยสักนิดแต่เป็นการคิดเเละเขียนอย่างรอบคอบแม้เเต่การลงรายละเอียดเล็กน้อยก็ผ่านการกลั่นกรองมาอย่างรอบคอบเเละละเอียดก่อนจะเขียนบันทึกลงไปในแผ่นกระดาษเพลงของเขาเข้ากับยุคสมัยและมีความเป็นสากล
บทเพลงนี้มีด้วยกันทั้งหมด 3 ท่อน Allegro, Andante, Allegro ซึ่งเพลงนี้สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ที่ได้ฟังครั้งแรกเป็นอย่างมาก โดย ท่อน1 และท่อน3 มีทำนองที่เหมือนกันในตอนต้นและต่างกันในช่วงกลางเพลง แต่ละท่อนของบทเพลงจะถูกแทนด้วยสีที่แตกต่างกันไปตามบริบท และตามลักษณะพิเศษของแต่ละท่อน
ท่อน Allegro จะมีทำนองที่ดุดันและแข็งกร้าวกว่าท่อนอื่นๆ บรรยากาศเวลาที่ได้บรรเลงเพลงนี้ จะเห็นรอบข้างเป็นสีแดงหรือดำสลับกันไปทุกที
ท่อม Andante มีท่วงทำนองที่อ่อนหวาน ถึงแม้ว่าบางเมโลดี้จะถูกหยิบมาจากท่อนแรกก็ตาม แต่ด้วยความที่ท่อนนี้จะช้ากว่ามาก ทำให้ถึงแม้จะเป็นโน๊ตที่เหมือนกัน แต่ฉันมักมองเห็นบรรยากาศรอบตัวเป็น สีชมพู สลับสีขาว อยู่เสมอ
ท่อนสุดท้าย Allegro ถึงจะชื่อท่อน และความเร็วเท่ากับท่อนแรก แต่ท่อนสุดท้ายนี้ ยังมีอ่อนโยน แต่สุขุม เยือกเย็นมากกว่าท่อนแรก ซึ่งจะอยู่ในช่วงระหว่างกลางท่อน ที่เมโลดี้จะถูกเปลี่ยนไปให้ต่างกับท่อนแรกบรรยากาศรอบตัวของฉันเวลาบรรเลงจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ที่ดูสุขุม นุ่มลึก

Oblivion, Astro Piazzolla (transcribe For Double Bass & Guitar)
คีตกวีชาวอาเจนตินา ผู้บุกเบิกดนตรีแทงโก้ ให้กลายเป็นดนตรีแนวแทงโก้สมัยใหม่ (Nuevo Tango) โดยการผสมผสานใส่กลิ่นไอของดนตรีแจ๊ซ และคลาสสิกลงไปในดนตรีแนวแทงโก้พื้นบ้านจนถูกขนานนามว่าบิดาแห่งดนตรีแทงโก้
นอกจากนั้นเขายังเป็นักเล่น ฺBandoneons หรือที่เรารู้จักกันว่าหีบเพลง ที่มีฝีมือมากๆอีกด้วย
บทเพลง Oblivion ประพันธืขึ้นในปี 1982 และถูกนำไปประกอบภาพยนต์เรื่อง Enrico IV กำกับโดย Marco Bellocchio เพลงนี้ถูกตีความว่าเป็นเพลงที่สร้างบรรยากาศที่วังเวง และหลอนมากอีกทั้งบทเพลงนี้ยังกลายเป็นบทเพลงที่ได้รับความนิยมที่สุดในบรรดาทุกๆผลงานของ Piazzolla
Oblivion ถูกนำไปทำเป็นหลายเวอร์ชั่น เช่น แซกโซโฟน ควอเตท, เดี่ยวโอโบกับวงออเครสตา เป็นต้น เครื่องเดี่ยวจะซอกแทรกเข้ามาในช่วงเมโลดี้ที่อ่อนโยนแต่เศร้าสุดขีด ก่อนที่ช่วงกลางของบทเพลงจะแปรเปลี่ยนเป็นท่วงทำนองที่เข้มข้นและดุดันมากขึ้น แม้ว่าบทเพลงจะบรรยายถึงความรักแต่ก็เป็นความรักที่ซับซ้อนกล้ำกลืน และเจ็บปวด
ถ้าเปรียบกับความรู้สึก คงเป็นความรู้สึกที่ทั้งสุข และทุกข์ในเวลาเดียวกัน เหมือนสีเทา ที่เกิดจากสีขาวแทนความบริสุทธิ์ สดใส และสีดำแทนมืดมน เป็นความรู้สึกที่ขัดแย้งกันเอง ยากที่จะเข้าใจ ทำให้เกิดความคิดที่ไม่ลงรอยกันเองอยู่เสมอ

Adagio in G Minor, Tomaso Albinoni
คีตกวีชาวอิตาลีในยุคบาโรค ในช่วงยุคสมัยของเขาชื่อเสียงของเขามาจากผลงานโอเปร่าเป็นส่วนใหญ่ แต่หลังจากที่เขาเสียชีวิต ผลงาน Instrumental Music (เพลงบรรเลง) โดยเฉพาะเพลง Concerto และบทเพลง Adagio in G Minor
แต่ในขณะเดียวยังมีนักดนตรีและนักเขียนชีวประวัติของ Albinoni ในศตวรรษที่ 20 ชื่อ Remo Giazottoได้อ้างว่าเขาคือผู้เขียนเพลงนี้ขึ้นมาโดยอ้างอิงจากชิ้นส่วนต้นฉบับที่ถูกพบ
มีการถกเถียงทางวิชาการอย่างต่อเนื่องว่าชิ้นส่วนที่ถูกกล่าวหานั้นเป็นของจริงหรือเป็นเรื่องหลอกลวงกันแน่
สำหรับบทเพลงนี้ มีท่วงทำนองที่เศร้า โหยหวน อีกทั้งยังฟังดูลึกลับ เหมือนกับสีน้ำเงิน ที่ดูลึกลับ ชวนหลงใหล แต่ก็ยังมีความเศร้าและน่ากลัวในเวลาเดียวกันบทเพลงนี้จะทุกเชื่อมไปกับสีน้ำเงิน และรูปวาดที่จะบรรยายแทนความความรู้สึกเศร้า

Duetto in D Major ( Mov I ), Gioachino Antonio Rossini
คีตกวีชาวอิตาลีที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากผลงานอุปรากรทั้ง 39เรื่องแต่ถึงกระนั้นเขาก็ยังมีผลงานด้านChamber Music, Piano Pieces, และ Sacred Music อีกมากมาย ที่สำคัญเขายังเป็นผู้พัฒนารากฐานทั้ง Comics, Serious Opera ให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้นก่อนที่จะเกษียณตัวเองไปในวัยเพียง 37ปีแต่เขาก็มีชีวิตที่ดีและมีชื่อเสียงตลอดจนชั่วชีวิตของเขา
Duetto ถูกบรรเลงครั้งเเรกในปี 1824 โดย นักเชลโล่สมัครเล่นนามว่า Sir David Solomons และ นักดับเบิ้ลเบสมืออาชีพนามว่า Domenico Dragonetti ผลงาน Duet ของ Rossini ชิ้นนี้ ยังถูกขนาดนามว่าเป็นผลงานที่ประหลาดที่สุดสำหรับ Chamber Music ของ Rossini
โดยในการแสดงในครั้งนี้ได้เอามาบรรเลงเพียงท่อน1เท่านั้น เพื่อแทนความรู้สึกสนุกสนาน และมีชีวิตชีวาของโลกใบนี้

คิดถึง, Pongsit Kampee
พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ ตำนานเพลงเพื่อชีวิตรุ่นที่ 3 ได้เข้าสู่วงการดนตรีตั้งเเต่ปีพ.ศ.2530 จนถึงปัจจุบันได้รับรางวัลการันตีมากมาย เช่น
-
คมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 15 รางวัล "ศิลปินชายเดี่ยวยอดเยี่ยม" ประจำปี พ.ศ. 2561
-
สีสันอะวอร์ดส์ ศิลปินเดี่ยวยอดเยี่ยม จากอัลบั้ม "แกกับฉัน" ครั้งที่ 30 ประจำปี 2561 เป็นต้น
พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในปี พ.ศ. 2533 จากเพลง ตลอดเวลา ในอัลบั้มเสือตัวที่ 11 ซึ่งออกกับค่ายรถไฟดนตรีพร้อมทั้งได้ทำเพลงประกอบละคร ตะวันชิงพลบ ซึ่งได้มีโอกาสที่จะนำเพลงดังกล่าวไปบรรจุรวมอยู่ในอัลบั้มบันทึกการเดินทางด้วย และเป็นอัลบั้มที่แฟนเพลงรู้จักมากขึ้นหลังออกวางจำหน่าย ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียนของหนู, เธอผู้เสียสละ, ไทรโศก, แม่ เป็นต้น
บทเพลง คิดถึง กล่าวถึง ความรักที่ไม่สมหวัง ความรักที่ยอมแม้กระทั่งให้คนที่เรารักเดินจากไป ส่วนตัวเราทำได้เเค่คิดถึง
สำหรับบทเพลงนี้เวลาที่ได้ยิน บรรยากาศโดยรอบตัวเราจะดูเป็นสีแดงส้ม แบบพระอาทิตย์ตกดิน ที่ให้บรรยากาศที่ชวนเหงาๆ แต่ก็ยังคงความร้อนแรงอยู่

Again, Beverly Caimen
นักร้องชาวฟิลิปปินส์ ภายใต้สังกัด Avex Trax ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้กับเธอคือ การได้ร้องเพลงเปิดให้กับการ์ตูนต่อสู้ในตำนานอย่าง Kamen Rider Build ก่อนจะปล่อยอัลบั้มเดี่ยวของเธอออกมาชื่อว่า 24
หลังจากที่ออกอัลบั้มเดี่ยวเเล้ว เธอยังได้อวดฝีไม้ลายมือในการร้องเพลงประกอบเอนิเมะอีกมากมาย เช่น Fairy Tales, Fruits Baskets เป็นต้น
Again เป็นบทเพลงประกอบเอนิเมะเรื่อง Fruits Baskets ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคำสาป 12 นักษัตร และการต้องตามแก้คำสาปของคู่พระนาง และผองเพื่อน บทเพลงนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การคิดถึงคนรักที่จาก และความหวังว่าสักวันเขากลับมาข้างๆเราอีกครั้ง
สำหรับบทเพลงนี้เวลาที่เราได้ยินหรือได้ฟัง รอบตัวของเราเหมือนจะกลายเป็นสีม่วงอยู่ทุกครั้งไป เพราะความคิดถึงในเพลงนี้มันทั้งโหยหา และเกือบจะสิ้นหวัง แต่มันก็ยังมีความสุขที่ได้เห็นคนที่รักมีความสุขเหมือนกัน คล้ายกับทุกอย่างมันผสมปนกันไปหมด