top of page

SYNESTHESIA

Carol Steen

ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคม

American Synesthesia Association

     ปกติแล้ว ร่างกายมนุษย์เราจะรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั่นคือ การมองเห็น, การดมกลิ่น, การล้ิมรส, การสัมผัส และการได้ยิน แต่หากวันหนึ่ง ตื่นขึ้นมาแล้วพบว่า เรามีสัมผัสพิเศษเพิ่มเข้ามาในร่างกาย สัมผัสพิเศษที่ว่า คือ ‘การรับรู้ข้ามช่องสัมผัส’ อย่างการมองเห็นเชื่อมการฟัง การสัมผัสไปเชื่อมกับรสชาติ อาการเหล่านี้ เรียกว่า ‘ซินเนสทีเซีย’

     อาการซินเนสทีเซีย สามารถแบ่งออกได้หลายร้อยลักษณะ ขึ้นอยู่กับการรับรู้สัมผัสที่แตกต่างกันออกไป ร้อยเรียงช่องสัมผัสต่างๆ แล้วเชื่อมโยงจนเกิดความพิเศษอันหลากหลาย และภายในหนึ่งคนอาจมีอาการซินเนสทีเซียได้หลากหลายรูปแบบอีกด้วย แต่เพื่อให้เราสามารถเข้าใจรูปแบบของอาการซินเนสทีเซียได้ง่ายขึ้น ‘Dr. Ashok Jansari’ หัวหน้าทีมวิจัยจากสถาบันจิตเวชแห่ง University of East London ได้กำหนดรูปแบบของซินเนสทีเซียไว้
4 แบบดังนี้

1.Grapheme – colour synesthesia : มีอาการเห็นตัวอักษรหรือตัวเลขเป็นสี
2.Tastetouch synesthesia : มีอาการเกิดความรู้สึกต่างๆ หลังจากการลิ้มรสชาติ
3.Soundcolour synesthesia : มีอาการได้ยินเสียงเพลง เสียงดนตรี หรือตัวโน้ตทำให้เห็นเป็นสี
4.Wordtaste synesthesia : มีอาการสัมผัสรสชาติได้จากตัวอักษร

     แต่นอกเหนือจากอาการข้างต้นที่เคยกล่าวมานั้น Synesthesia ยังเกิดได้อีกหลากหลายรูปแบบ หลังจากที่ได้ทำการสอบถามคนรอบตัว และผู้ร่วมกิจกรรมที่ตอบแบบสอบถาม ซึ่งคำถามจะมีอยู่ด้วยกัน 5 คำถาม ที่จะเปลี่ยนไปตามลักษณะ Synesthesia ของแต่ละท่าน

        คำถาม - ครั้งแรกที่มองเห็นสีเกิดขึ้นได้อย่างไร?

                     - มีอาการแบบนี้ตั้งแต่จำความได้เลยมั้ย หรือว่าพึ่งมาเป็นตอนช่วงเจริญเติบโต?

                     - เคยเอาสิ่งที่เห็นมาสร้างผลงานหรือไม่?

                     - จะเห็นเป็นสีเดิมตลอดหรือไม่? หรือแปรเปลี่ยนตามสถาณการณ์?

                     - ในทางกลับกันถ้าเห็นสี (รูปทรง) ก่อน จะทำให้นึกถึงใคร (ตัวอักษร) หรือไม่?

     คำตอบจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1. กับอาการ Synesthesia ที่มองเห็นสีจากตัวมนุษย์ได้ 

     - "เกิดขึ้นจากการจินตนาการหรือไม่ก็ความทรงจำที่เราสร้างขึ้นมาเองจากรูปทรงของสิ่งๆนั้นว่าเหมาะกับสีนั้นสีนี้ อย่างเช่นแบบอะไรเหลี่ยมๆเราจะเห็นเป็นสีโทนร้อน แล้วอะไรที่โค้งมนจะเห็นเป็นสีโทนเย็น"

         - "ส่วนตัวเกิดตอนไหนจำไม่ได้แต่ว่าเด็กๆหน่อย"

         - "บางที แต่อาจจะไม่รู้ตัวเท่าไหร่ว่าใช้ตอนไหน"

        - "ส่วนใหญ่จะเป็นสีเดิม แต่ว่าถ้านานๆไปถ้าเรารู้จักคนคนนี้มากขึ้นอาจจะเปลี่ยนสีแต่ว่าก็จะไม่ได้เปลี่ยนไปมากขนาดนั้นจะยังคงเป็นสีโทนเดิมหรือไม่ก็เปลี่ยนไปตามความเข้มความอ่อนของสี"

          - "บางครั้ง+ขึ้นอยู่กับว่าเราเห็นสีอยู่กับสิ่งของอะไร แต่จะเป็นกับแค่บางคนที่เราใกล้ชิดหรือสนิท"

     คำตอบจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2. กับอาการ Grapheme – colour synesthesia : มีอาการเห็นตัวอักษรหรือตัวเลขเป็นสี

          - (ข้อ 1-2) "มองเห็นตั้งแต่เด็กแล้วค่ะ เลยไม่รู้ว่าครั้งแรกเกิดขึ้นได้อย่างไร เข้าใจผิดว่าคนอื่นๆก็เห็นเหมือนกัน เพิ่งจะมาทราบตอนโตแล้วว่าคนอื่นมองไม่เห็นเป็นสี (ทราบเมื่อปีที่แล้ว 2020) เพราะไปถามเพื่อนว่าตัวอักษรนั้นๆของเธอสีอะไรหรอ เพื่อนพี่เลยบอกว่ามองไม่เห็นเป็นสีนะ หลังจากนั้นเลยไปสืบค้นข้อมูลทำให้ทราบว่าเป็น synesthesia ค่ะ"

            - "ยังไม่เคยนำไปสร้างสรรค์ผลงานอะไรเลยค่ะ (เพราะก็เพิ่งรู้เหมือนกันว่า คนอื่นไม่ได้เห็นเหมือนที่เราเห็น)

แต่นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันนะ ซึ่งก็ทำตั้งแต่เด็กๆแล้วเหมือนกัน โดยที่ไม่ได้รู้ตัว คือ เวลาอ่านหนังสือแล้วขีดเน้นข้อความ ส่วนมากจะขีดตามที่เห็นเป็นสี ทำให้จำได้ง่ายขึ้น แนบตัวอย่างมาให้ดูในรูป ซึ่งพี่ขีดอันนี้ตั้งแต่ก่อนจะรู้ว่าเป็น"

     คือขีดตามสีของตัวอักษรแรกของหัวข้อ

  •  Hairy tongue - เห็น H เป็นสีเขียว เลยขีดเนื้อหาในหัวข้อนั้นเป็นสีเขียว

  • Globulomaxillary cyst - G สีส้ม

  • Branchial - B สีเหลือง

  • Thyroglossal duct cyst - TH จะเป็นสีฟ้า

Image.jpeg

     คำตอบจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3. กับอาการ Synesthesia มองเห็นเป็นรูปร่างขณะรับรสอาหาร

            - (ข้อ 1-2) "มองเห็นตั้งเเต่สมัยเด็กๆเกิดขึ้นเพราะอะไรก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน แต่สมมุติพอทานไข่เจียว รสชาตของไข่เจียวจะทำให้มองเห็นเป็นวงกลมเบี้ยวๆ มะนาวเปรี้ยวก็เห็นเป็นสามเหลี่ยม ตอนแรกที่เห็นนึกว่าคิดไปเอง แต่เริ่มเห็นบ่อยขึ้นเลยคิดว่า มันแปลก แต่ยังไม่ได้บอกใคร"

            - "ไม่รู้ตัวเหมือนกันนะว่าเคยเอามาสร้างผลงานมั้ย"

            - "สมมุติว่ามะนาว แต่เป็นน้ำมะนาวกับยำมะนาว ก็ไม่เหมือนกันนะ แค่ชื่ออาหารก็ไม่เหมือนแล้ว ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เกิดตรงหน้ามากกว่า"

            - "ไม่เลยนะ ต้องได้รับรสก่อนตลอด ไม่เคยมองวงกลมแล้วรู้สึกหวาน วงกลมก็คือวงกลม"

     เห็นได้อย่างหนึ่งว่า Synesthesia ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นตั้งเเต่เด็ก และบางทีอาจเกิดจากจินตนาการที่แปรเปลี่ยนกลายเป็นการสั่งการของสมองโดยอัตโนมัติ  ส่งผลให้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เชื่อมโยงกันเป็นลักษณะพิเศษตามแบบของแต่ละคน

     สัมผัสพิเศษSynesthesiaไม่ได้สร้างความแปลกประหลาด หากแต่เป็นพรสวรรค์ที่หยิบมาสร้างสรรค์และถ่ายทอดการรับรู้ที่น่ามหัศจรรย์ผ่านงานศิลปะ อย่างศิลปินหญิงในนิวยอร์กชื่อ ‘Carol Steen’ ผู้มีอาการซินเนสทีเซีย และเธอยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคม ‘American Synesthesia Association’ อีกด้วย หนึ่งในผลงานของแครอลที่อธิบายความเป็นซินเนสทีเซียได้ดี ก็คือ “Orange is my default color for pain” เธออธิบายว่า “ตอนนั้นฉันอยู่ที่คลินิกทำฟัน และหมอกำลังใช้เครื่องเจาะฟันซึ่งฉันไม่ชอบเสียงของมันเอาเสียเลย ในนาทีนั้นฉันก็เห็นสีส้มขึ้นมาเต็มตา จึงทำให้ฉันรู้ว่าสีส้มนั้นแทนความเจ็บปวด” เธอได้กลิ่นเป็นสี มองเห็นตัวเลขและตัวอักษรเป็นสี ได้ยินเสียงเป็นสี รวมไปถึงการสัมผัสที่ทำให้เธอเห็นเป็นสีและรูปร่าง เช่น การถูกเข็มแทงที่ผิวหนัง แครอลเคยให้สัมภาษณ์ว่า “เหตุผลที่ทำให้ฉันเลือกเป็นศิลปิน คือฉันอยากจะถ่ายทอดสิ่งที่ฉันรับรู้ สิ่งที่ฉันเห็นซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแสงเหนือ ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง และการเคลื่อนไหวของสีสัน ฉันถูกถามบ่อยครั้งว่า หากเป็นไปได้ฉันอยากจะหายจากอาการนี้ไหม คำตอบของฉันคือไม่ อันที่จริงแล้วฉันอยากจะเห็นรูปแบบที่หลากหลายกว่านี้เสียด้วยซ้ำ เพราะสีที่ฉันเห็นมันงดงามมากจริงๆ”

     แต่จะเป็นไปได้มั้ยที่ผู้ที่ไม่มีอาการลักษณะพิเศษแบบนี้ จะสามารถให้เสียงชี้นำเพื่อให้เกิดสีในจินตนาการขึ้น?

ไม่มีแพทย์ หรือหลักการทางการแพทย์ไหนให้ตำตอบได้

 

     เมื่อได้พบปะ และพูดคุยกับผู้คนมากมาย ฉันก็มาค้นพบว่า เรื่องราวของ Synesthesia เป็นที่สนอกสนใจต่อใครหลายๆคน จนถึงขั้นมีการนำไปทำวิจัยกับหลายๆอย่างๆ แต่สิ่งที่น่าสนใจ และดูจะเป็นไปได้มากที่สุดที่จะทำให้ผู้ที่ไม่มีอาการลักษณะพิเศษเหล่านี้สามารถมองเห็นสีต่างๆได้ นั้นก็คือความเชื่อเรื่องการเชื่อมโยงระหว่างสี คลื่นเสียง และจักระภายในร่างกายของมนุษย์ 

     จักระคืออะไร จักระ เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง กงล้อ จักระคือ ศูนย์รวมพลังงานภายในร่างกายของมนุษย์ หรือ พลังแฝงที่มีอยู่ในทุกๆสิ่ง เป็นศูนย์พลังงานอันละเอียดอ่อน และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น จักระ ชี่ ลมปราณ เป็นต้น แต่ละจุดจักระก็จะมีสีประจำจุดต่างๆไล่ไปตั้งแต่จุดต่ำสุดของกระดูกสันหลัง ถึงจุดสูงสุด คือ บริเวณกลางศรีษะ 

                          รูปภาพตัวอย่าง 1.Relationship between Sound & Light      

     จักระทั้ง 7 แห่งโยคะ ล้วนมีสีที่เป็นสีประจำจุดอยู่ 

1. Root Chakra (Honors the Earth) เป็นรากฐานของระบบจักระ และเป็นพื้นฐานของพลังชีวิต ชื่อสันสกฤต คือ มูลธาร (Muladhara) ตำแหน่งจะอยู่ตรงปลายสุดของกระดูกสันหลัง มีสัญลักษณ์เป็นดอกบัวสี่กลีบ สี่ที่สัมพันธ์กันคือสีแดง เป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดจิตสำนึกให้อำนาจในความคิด ความมีสติ ความรู้สึกตัว เป็นจักระเเรกที่ก่อร่างของความเป็นมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย ร่างกาย จิตใจ ความรู้สึก วิญญาณ เป็นจักระที่เริ่มสร้างร่างกายมนุษย์ให้มีคุณภาพ เมื่อมีการปลุกจนตื่นตัวจะเกิดปรากฏการณ์ขึ้น เช่น เกิดลางสังหรณ์ เกิดแสงสว่างทำให้เกิดความกระจ่างขึ้น ความเป็นมนุษย์ที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์ค่อยๆปรากฏขึ้นมาให้เห็นเด่นชัด

 

2.Sacral Chakra (Honors the Creative) เป็นศูนย์กลางเกี่ยวกับพลังงานทางเพศและความเชื่อมั่นในตัวเอง ชื่อสันสกฤต คือ สวาธิษฐาน (Svadhisthana) ตำแหน่งอยู่บริเวณท้องน้อยหรือต่ำกว่าหน้าท้องประมาณสองนิ้ว สัญลักษณ์เป็นดอกบัวหกกลีบ สีที่สัมพันธ์กันคือสีส้ม เครือข่ายทางกายภาพคือระบบตับบางส่วน ไต ม้าม ตับอ่อน มดลูก มีคุณสมบัติ คือ การสร้างสรรค์ แรงบันดาลใจ สุนทรีย์ ควบคุมอำนาจจิต 

 

3.Solar Plexus Chakra (Honors the Life Force) ป็นจุดศูนย์กลางของร่างกาย ควบคุมระบบทางเดินอาหารทั้งหมด ทั้งการย่อยอาหารและการขับถ่ายของเสีย ชื่อสันสกฤต คือ มณีปุระ (Manipura) อยู่ตรงไขสันหลังตรงจุดสะดือ สัญลักษณ์คือดอกบัวสิบกลีบ สีที่สัมพันธ์กันคือสีเหลือง เครือข่ายทางกายภาพของระบบ คือ กระเพาะอาหาร ตับบางส่วน มีคุณสมบัติคือ ควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย กายภาพ รูปธรรมและจิตวิญญาณ ความพอใจ ความใจกว้าง มีศีลธรรม

4.Heart Chakra (Honors the Heart) เป็นศูนย์รวมของความรักที่เเท้จริง ความเมตตากรุณา ความเสียสละ ชื่อสันสกฤต คือ อนาหตะ (Anahata) ตำแหน่งอยู่ตรงหัวใจ สัญลักษณ์คือ ดอกบัวสิบสองกลีบ สีที่สัมพันธ์กันคือ สีเขียว เครือข่ายทางกายภาพของระบบ คือ หัวใจ การหายใจ  มีคุณสมบัติคือ ที่เกี่ยวข้องกับความรัก ความร่าเริง 

5.Throat Chakra (Honors the Communication) เป็นจักระที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ชื่อสันสกฤต คือ วิสุทธิ (Vishuddhi) อยู่ตรงต่อมไทรอยด์ สัญลักษณ์คือดอกบัวสิบหกกลีบ สีที่สัมพันธ์กันคือสีน้ำเงิน เครือข่ายทางกายภาพของระบบคือ ต่อมไทรอยด์ คอ แขน ปาก ลิ้น หน้า มือไหล่ มีคุณสมบัติ เกี่ยวข้องกับจิตสำนึกของการรวมกลุ่ม ความอ่อนหวาน ความสุขุม ความไม่ก้าวร้าว การสื่อสารที่ดี

 

6.Third Eye Chakra (Honors the Psychic) เป็นจักระที่เปรียบเหมือนดวงตาแห่งปัญญา ชื่อสันสกฤต คือ อาชญะ (Ajna) ตั้งอยู่ตรงกลางหน้าผาก สัญลักษณ์คือดอกบัวสิบสองกลีบ สีที่สัมพันธ์กันคือสีคราม เครือข่ายทางกายภาพของระบบคือ ต่อมใต้สมอง การมองเห็น การได้ยิน ความคิด มีคุณสมบัติ เกี่ยวกับให้อภัย การคุมอัตตา และความมีเงื่อนไข พลังงานความคิด พลังที่สำคัญแก่ชีวิต และพลังงานทุกชนิดจะไหลไปอย่างมีจังหวะสมดุล เพื่อไปหล่อเลี้ยงทุกอวัยวะ มีเครือข่ายหรือช่องทางเดินที่จะให้พลังอำนาจจิตผ่าน

7.Crown Chakra (Honors of Spiritual) เป็นศูนย์กลางควบคุมทุกจักระในร่างกาย เป็นจุดรับพลังจักรวาลและกระจายไปทั่วร่างกาย ชื่อสันสกฤต คือ สหัสราระ (Sahasrara) ตำแหน่งสูงสุดกลางกระหม่อม สัญลักษณ์คือดอกบัวพันกลีบ สีที่สัมพันธ์กันคือสีม่วง เครือข่ายทางกายภาพของระบบคือ สมองส่วนกลาง ต่อมไพนีล ซึ่งต่อมไพนีลเป็นต่มที่สำคัญที่สุดเมื่อทั้ง 6 จักระตื่นขึ้นมา จักระที่ 7 ก็จะตื่นไปด้วย เพราะตั้งแต่จักระที่ 1 ถึง 7 จะติดต่อกัน ต่อมไพนีลเต็มไปด้วยเม็ดสีที่ใกล้เคียงกับดวงตาของมนุษย์ ในทางโยคะ เมื่อต่อมไพนีลถูกพัฒนาไปอย่างเต็มที่เมื่อถูกกระตุ้นจากสมาธิที่สูง พลังงานการสั่นสะเทือนนี้เองที่กระตุ้นเพื่อเปิดดวงตาที่สาม เมื่อดวงตาที่สามเปิด เราจะรับรู้ความรู้สึกถึงการรู้เเจ้งการเปิดดวงตาที่สาม ที่ถูกเรียกว่า ดวงตาแห่งจิตวิญญาณ (Eye of the Soul) และเกี่ยวกับการตระหนักรู้ในตนเอง

     

     ความสัมพันธ์ระหว่างเสียงและแสง ฉันไม่ใช่คนแรกที่ถามคำถามนี้ ที่จริงแล้ว คำถามนี้ถูกนำมา "ถกเถียง" โดยนักแต่งเพลงที่ยิ่งใหญ่ในอดีต เช่น Richard Wagner, Hector Berlioz, Claude Debussy, Nikolai Rimsky-Korsakov และคนอื่น ๆ แม้ว่าทั้งแสงและเสียง จะสามารถแสดงให้เห็นได้โดยเครื่องมือวัดคลื่นเฮิร์ทซ์ แต่ก็ยังมีความแตกต่างกันออกไป

     ถ้าหูของเรามีเพียงไม่กี่องค์ประกอบการรับรู้ที่แตกต่างกัน แต่ละองค์ประกอบกับความถี่เฉพาะเจาะจง เราทุกคนอาจจะสามารถรับรู้ "สี" ที่สมบูรณ์ของเสียงได้อย่างไรก็ตามหูจำเป็นต้องตอบสนองกับคลื่นความถี่ที่ใหญ่กว่าเราสามารถแยกแยะลักษณะของเสียงที่หลากหลายกว่าที่เราสามารถทำได้ แก้วหูของมนุษย์ มีความยืดหยุ่นที่แตกต่างกันตามลักษณะของมนุษย์ ดังนั้นมันจึงสามารถพิจารณาเป็นชุดของสั่นสะเทือนความถี่ที่แตกต่างกันของแต่ละคนได้ไม่เท่ากัน 

      ความแตกต่างระหว่างเสียงและแสงคืออะไร? 

ความถี่ของแสงที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยินแตกต่างกันมากกว่าสิบลำดับของขนาด ระยะเสียง: ประมาณ 20 Hz ถึง 20.000 Hz ระยะแสงที่สามารถมองเห็น: ประมาณ 380 พันล้าน Hz ถึง 760 พันล้าน Hz เสียงเป็นรูปแบบของพลังงานกลไก ที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ แสงคือพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เกิดจากสนามไฟฟ้าและแม่เหล็กที่เชื่อมต่อกัน 

                                         รูปภาพตัวอย่าง 2.The Measurement of Light.

     ซึ่งช่วงระยะสีหรือแสงที่สามารถมองเห็นได้นั้น สำหรับมนุษย์ จะอยู่ในช่วง สีแดงจนกระทั่งสีม่วง ซึ่งไปตรงกับหลักจุดจักระของมนุษย์ และช่วงคลื่นเสียงนี้จะอยู่บนเปียโนที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

                                         รูปภาพตัวอย่าง 3.Musical Notes-Color Correspondences in the Visible of Light.

     คลื่นความถี่ของแสงค่อนข้างอยู่ได้แป้บเดียวเท่านั้น หน่วยวัดของคลื่นแสงแทนด้วยตัว A (Angstrom) คลื่นแสงที่สามารถมองเห็นได้ถูกวัดได้เป็น 1000 A ดั่งที่ได้เห็นไปในชาตร์แสดงผลด้านบน จะแสดงให้เห็นว่า คลื่นเสียงที่คนเรามามารถมองเห็นได้นั้นมาตรฐานจะอยู่ที่ 7000 A(สีแดง) ถึง 4000 A(สีม่วง) ดังนั้น เมื่อเรายกโน้ตขึ้นไปอีก 40 octaves เราก็จะได้ค่าเสียงของโน๊ตตามที่เราคุ้นชินหู A = 440 ละลองเอาตามรางมาเทียบกันก็จะได้ตำแหน่งแสงสีของคลื่นเสียงต่างๆนั้นเอง ดังนั้นนี้อาจจะเป็นหนทาง หรือวิธีที่จะทำให้มนุษย์เกิดมีอาการ Synesthesia ก็เป็นได้ หากนำหลักวิทยาศาสตร์ และความเชื่อมารวมเข้าด้วยกัน 

     ตัวอย่างคลื่นเสียง 256 Hz (Root Chakra-Red)

     ในการแสดงในครั้งนี้ ฉันตั้งใจอยากจะทำความเข้าใจว่าผู้ที่ไม่มีลักษณะพิเศษแบบนี้ จะสามารถมองเห็นสี แบบที่ฉันเห็น หรือเป็นสีแบบที่ตัวเขาเห็นได้หรือไม่ ผ่านการแสดงออกผ่านเสียงเพลงและะรูปวาดประกอบที่ดูง่าย และฟังง่าย ไม่ซับซ่อน เพื่อช่วยเปิดจินตนาการ และเข้าใจมุมมองของผู้เป็น Synesthesia มากขึ้น 

References & Credits

- Light and Colour Theory by Clay Taylor

- https://www.roelhollander.eu/en/tuning-frequency/sound-light-colour

https://rhythmiclight.com

- www.wikipedia.com

- A Beginners Guide to the 7 Chakras. (Kawai PuraPura)

-Chakra by Roots8 Yoga

-https://www.melissasmccracken.com

637020880630603807_edited.png

รูปภาพตัวอย่างตำแหน่งจุดจักระ

bottom of page